31 March 2009

action of lateral pterygoid muscle

sup head action when close mouth to couteract the force of retrodiscal pad, it create the smooth backward movement of menicus.

if the elastic of the retrodiscal pad is loose, the disc will protrude ant to the normal position.

PS. inf head of lat pterygoid will action when mouth openning

21 March 2009

diabetes ketoacidosis จะเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่

Diabetes ketoacidosis ในคนไข้เบาหวานจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

ในคนไข้เบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูงมากๆ ถ้าไม่อยากให้น้ำตาลในเลือดสูง คิดง่ายๆเราก็ไม่ต้องให้คนไข้ได้น้ำตาลเลย คือไม่ให้ทานของหวานเลย ไม่ให้ fluid ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ถ้าเราทำเช่นนั้น คนไข้เบาหวานจะเกิดภาวะ diabetes ketoacidosis ได้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งๆที่คนไข้ก็มีน้ำตาลในเลือดสูงอยู่แล้ว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า น้ำตาลในเลือดของคนไข้เบาหวานนั้นร่างกายไม่สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้ แต่ถ้าเป็นน้ำตาลที่ metabolite ขึ้นมาใหม่นั้น cell จะสามารถนำไปใช้ได้

เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ให้น้ำตาลเลย ก็จะเกิด Diabetes ketoacidosis ได้ แล้วเราให้น้ำตาลได้เท่าไหร่ละถึงจะน้อยที่สุดที่จะไม่เกิดภาวะนี้ ต้องมาเข้าใจกระบวนการ physiology ของร่างกายก่อน

ร่างกายเราแบ่ง cell ในการใช้น้ำตาลได้ประมาณ 3 ประเภท
1. glucose dependent คือ สมอง และ RBC แปลว่า สมองจะไม่ใช้พลังงานในรูปอื่นนอกจาก glucose
2. glucose prefer คือพวก ตับ ไต
3. glucose independent คือไม่มีน้ำตาลก็ไม่เป็นไร เช่น พวก cell กล้ามเนื้อ, nerve cell ใช้พวก lactic acid ได้

เพราะฉะนั้น ถ้าสมองมีน้ำตาลไปเลี้ยงไม่พอ ร่างกายก็จะสลายไขมันเพื่อไปสร้างน้ำตาลมาใช้ ทำให้เกิดของเสียที่เรียกว่า ketone ออกมา นำไปสู่ diabetes ketoacidosis

แล้วสมองต้องใช้น้ำตาลต่อวันขัั้นต่ำเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอละ คำตอบอยู่ที่ glucose 120 g แล้วมันเท่าไหร่ละ glucose 120 g นะ คิดง่ายๆ coke หนึ่งกระป๋องมีน้ำตาลอยู่ประมาณ 200 g เพราะฉะนั้นถ้าคนไข้กินโค้กได้วันละกระป๋องก็ไม่ต้องกลัวภาวะ diabetes ketoacidosis ล่ะ (แต่ถ้ากินโค้กด้วย กินข้าวด้วย กินผลไม้หวานๆด้วย น้ำตาลก็ไม่ลงเลยละคราวนี้ ต้องดูหลายๆอย่างประกอบ นี้แค่ยกตัวอย่างให้ดู)

เข้าไปอ่านต่อที่นี้แล้วจะเข้าใจมากขึ้น
http://www.absoluteastronomy.com/topics/Famine_response

19 March 2009

Regular insulin กับการควบคุมน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานก่อนผ่าตัด

ในกรณีคนไข้ เบาหวานที่ต้องควบคุมระดับคนไข้เบาหวานก่อนผ่าตัด ส่วนใหญ่จะใช้ regular insulin ในการควบคุม

การให้ RI ให้ได้หลักๆสองทาง
1. IV ออกฤทธิ์ทันที peak ใน 30 นาที
2. subcutaneous ออกฤทธิ์ช้า peak ที่ 3 hr และมีผลต่อไปอีก 3 hr

โดย RI 1u จะสามารถลดน้ำตาลได้ 30-50 mg%
ถ้าคนไข้มี FBS > 200 จะ 1u จะลดได้ 50mg%
แต่ห้ามลด FBS > 100 mg% ใน 1 hr มิฉะนั้นจะเกิดภาวะสมองบวมจาก ภาวะที่ cell ได้น้ำตาลเข้าไปมากทำให้น้ำไหลตามน้ำตาลเข้าไปใน cell เกิด cell บวมขึ้น

ข้อควรรู้อีกอย่างคือ น้ำเกลือ 5%Dn/2 1 ขวด มีน้ำตาล 50 g ซึ่งต้องใช้ RI 10u ในการ metabolite ให้หมด ซึ่งก็คือ RI 1u metabolite glucose ได้ 5 g ความรู้นี้นำไปใช้ในการ titrated RI ผ่านทาง IV drip ได้

ข้อที่ควรนำมาพิจารณาเกี่ยวกับระดับน้ำตาลกับศัลยกรรม อีกอย่างหนึ่งคือ ระดับน้ำตาลหลังทำหัตถการเป็นเช่นไร เนื่องจากการทำ surgery จะทำให้เกิด trauma หลังทำ ทำให้ภาวะน้ำตาลสูงขึ้น แต่อีกทางหนึ่งถ้าคนไข้หลังทำหัตถการไม่สามารถกินได้ ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะต่ำ ดังนั้นเราต้อง balance สองจุดนี้ให้ดี

สุดท้ายนี้ความรู้ด้านบนเป็นอัตรา RI ที่ลดน้ำตาลได้ในคนปกติ แต่ในคนเป็นเบาหวาน cell จะ response ต่อ RI ได้ไม่เหมือนคนปกติ ดังนั้นต้องทำการ titrated โดยปรับ dose ไปเรื่อยๆแล้วเจาะ Dtx เป็นระยะเผื่อประเมินว่าในคนไข้คนนี้ reponse ต่อ RI อย่างไร

11 March 2009

staging of osteoradio necrosis (ORN)

osteoradionecrosis เราสามารถแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 stage โดย stage III ตามตัวหนังสือที่เขียนไว้ก็คือ ลักษณะของ ORN ร่วมกับมี fistula opening หรือมี pathologic fracture ของตัวกระดูกร่วมด้วย ซึ่งถ้าเราแบ่ง stage ของ ORN ตามลักษณะของมันนั้น เราจะยังเข้าไม่ถึงหัวใจของการแบ่ง ORN

อธิบายอีกทางก็คือ สมมุติเราพบ ORN ที่มี fistula openning แต่เราส่งไปทำ HBO แล้วอาการผู้ป่วย response ดีขึ้นจนหายดีโดยเราไม่ต้องทำ intervention ใดๆเลย เรายังจะให้เป็น ORN stage III หรือไม่

ดังนั้น จริงๆแล้วการแบ่ง stage ORN อย่างง่ายๆเลยก็คือ ถ้า ORN ที่ response ต่อ HBO 3o drive แล้วสามารถรักษาหายได้โดยไม่ต้องทำ local debridement ใด เราถือว่าเป็น stage I แต่ถ้าได้ HBO 30 drive อาการไม่ดีขึ้น ต้องทำ local debridement แล้วรักษาหายได้ เราถือว่าเป็น ORN stage II และสุดท้ายถ้ารักษาด้วยการ local debridement ไม่หาย ต้องใช้การรักษาที่ aggressive มากขึ้นไปอีก เราก็จะถือว่ามันเป็น ORN stage III