17 July 2017

antiplatelet กับการถอนฟัน


ยา antiplatelet ที่ใช้กันมากในปัจจุบันได้แก่ ASA, Plavix ยาที่อาจจะเจอได้บ้างก็ได้แก่ petal นอกจากนั้นยังมี antiplatelet ตัวใหม่ๆคือยา prasugrel 

ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยาพวกนี้ได้แก่ ผู้ป่วยที่หลอดเลือดมี atherosclerosis เช่นในผู้ป่วย myocardial infarction หรือผู้ป่วย Stroke มีผู้ป่วยบางคนที่จำเป็นต้องได้ เป็น dual antiplatelet เช่น recent MI หรือผู้ป่วยที่ทำ angioplasty คนไข้เหล่านี้มักจะต้องได้รับ dual antiplatelet เป็นระยะเวลา 6 เดือน-1 ปี

เราจะพบว่าระหว่างที่ผู้ป่วยทานยาพวกนี้อยู่ หัตถการที่พบบ่อยมากที่สุดคือการถอนฟัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ถ้าทันตแพทย์ consult แพทย์ไป แพทย์มักจะให้หยุดยาเหล่านี้ 5-7 วันก่อนการถอนฟัน มีน้อยรายที่แพทย์จะยืนกรานว่าให้กินยาต่อ 

แต่ถ้าเรามาพิจารณาจาก mechanism ของยาแล้ว จะพบว่ายา attack ที่ primary hemostasis ยับยั้งที่ platelet aggregation  ซึ่งจากลักษณะของแผลถอนฟันแล้ว มีลักษณะเหมือนถังน้ำที่ไม่มีฝาปิด ถ้าเราสามารถ pressure ปิดที่บริเวณปาก socket ได้แล้ว platelet ถึงแม้ว่าจะมา aggregation ได้ช้า แต่สุดท้ายก็จะ aggregation ได้อยู่ดี หลังจากนั้น 2nd hemostasis ก็จะสามารถทำหน้าที่ของมันต่อได้ตามปกติ โอกาสเกิดเลือดไหลหลังการถอนฟันที่ผิดปกติก็น้อยลง

จากการศึกษาพบว่าถ้าให้ผู้ป่วยไม่หยุดยา ASA แล้วมาถอนฟันพบว่าโอกาสเกิด post-op bleeding 3% และต้องใช้ platelet transfusion แค่เพียง 0.2% นอกนั้นสามารถหยุดได้ด้วย local hemostasis (pressure, suture, surgicel, gelfoam) ในทางกลับกันพบว่าผู้ป่วยที่หยุด ASA ก่อนการถอนฟันเกิด thrmoboembolic event 3% แต่ morbid, mortality ถึง 80%

เมื่อเราเทียบข้อดีข้อเสียแล้ว ในการหยุดหรือไม่หยุดยา antiplatelet ก็น่าจะมีคำตอบอยู่ในใจแล้วว่าก่อนการถอนฟันควรจะทำอย่างไร และมีความจำเป็นต้อง consult แพทย์จริงหรือไม่ หรือถ้าแพทย์บอกว่าผู้ป่วยรายนี้มีความเสี่ยงสูงจะเกิด thromboembolic event ไม่ควรหยุดยา เราจำเป็นต้องให้คนไข้ทรมาน หรือทนรำคาญจากปัญหาที่เกิดจากฟันไป 6 เดือน-1 ปี แล้วค่อยนัดมาทำฟันหลังจากนั้นจริงหรือไม่ 

หวังว่าคงมีคำตอบอยู่ในใจ.................