Giant cell lesion บริเวณขากรรไกรมีหลายชนิด สิ่งแรกที่ต้องรู้คือ giant cell lesion ไม่ได้เป็น tumor แต่เป็น reparative(ซ่อมแซม) lesion พูดง่ายๆคือ reactive lesion ชนิดหนึ่ง
Giant cell lesion of the jaw จำง่ายๆได้ดังนี้
ABCCG
A = Aneurysmal bone cyst
B = Brown tumor (Hyperparathyroidism)
C = Central giant cell granuloma (CGCG)
C = Cherubism
G = Giant cell tumor of the long bone
A = Aneurysmal bone cyst
- เป็น pseudocyst
- เชื่อว่าเกิดจาก vascular malformation ในกระดูก หรือว่า trauma เกิดเลือดออกในกระดูก
- x-ray พบ multilocular radiolucency
- Histo-patho แน่นอนต้องพบ Multinucleated giant cell และไม่พบ epithelium เนื่องจากเป็น pseudocyst
- รักษาโดยการ curette
B = Brown tumor (Hyperparathyroidism)
- เป็น systemic response ของร่างกายต่อภาวะ hyperparathyroid hormone
- มี Calcium และ Phosphate ในเลือดเยอะ ย่อมแสดงว่าร่างกายมีการสลายกระดูกมาก
- ไม่ค่อบพบ lesion ในขากรรไกร แต่ถ้าพบก็จะพบเป็น multiple radiolucent lesion (เพราะเป็น systemic)
- อาจมีภาวะ renal caliculi (นิ่วนั้นเอง จาก calcium สะสม)
- ตรวจเลือดจะพบ calcitonin ต่ำ parathyroid hormone สูง และ calcium ในเลือดสูง
- การรักษาส่งหมอ med (beyond surgery scope แล้ว)
C = Central giant cell granuloma (CGCG)
- ไม่ใช่ tumor เป็น reactive lesion
- rare lesion
- มักพบในคนไข้ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี
- มีสองแบบ aggressive กับ non-aggressive แยกง่ายๆคือ ปวดกับไม่ปวด
- ตำแหน่งทีเกิดมักเป็น premolar-premolar ของ mandible
- Histo-Patho ก็แน่นอน giant cell
- unilocular หรือ multilocular ก็ได้แต่มักจะไม่มี sclerotic border (คล้ายกับพวก hematogenous lesion)
- การรักษาโดยการ curette ส่วนวิธีอื่นๆเช่น ฉีด steriod , scleorsing therapy, chemo ถ้าสนใจลองไปหาอ่านเพิ่มเติมเอง
**Peripheral giant cell granuloma**
- มีหลายคนไม่เชื่อว่าเป็น counter part ของ CGCG แต่โดยส่วนตัวแล้วผมเชื่อเพราะจำง่ายดี
- เป็น reactive soft tissue lesion
- อายุที่เกิดจะมากกว่า CGCG คือ 31-40 ปี
- แยกจาก Pyogenic, peripheral ossifying fibroma, irritating fibroma ที่ consistency น่าจะนิ่มกว่าและมีสีออก bluish-red (คิดถึง granuloma เข้าไว้)
Cherubism
- เป็น congenital
- Autosomal dominant
- Bilateral cheek swelling
- ตามองขึ้นสวรรค์ Eyes raise to heaven (เพราะแก้มบวมดึงหนังตาล่างลง)
- พบในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ
- Diag ได้อยู่แล้ว
- จะค่อยๆ regress หลังจากโต
Giant cell tumor of the long bone
- ชื่อก็บอกแล้วว่า long bone เพราะงั้นไม่พบใน jaw หรอก
- มีคนเชื่อว่าเป็น true tumor แต่ผมเชื่อว่าเป็น reactive เพราะจะได้จำเป็นเรื่องเดียวกันไป
- recurrence rate สูง