10 January 2008

Diabetes Mellitus drug with dental consideration

คงมีทันตแพทย์หลายๆ​​​คน​​​ไม่​​​รู้ว่ายาที่​​​ใช้​​​รักษา​​​โรคเบาหวานมีอะ​​​ไรบ้าง​​ ​​และ​​​มีผลอย่างไร​​​กับ​​​ทางทันตกรรม​​ ​​มารู้จักยาที่รักษา​​​เบาหวานตามตาราง​​​กัน​​​ก่อน​​ ​​ที่​​​ใช้​​​กัน​​​บ่อยมี​​​แค่​​​ไม่​​​กี่ตัว​​ ​​จำ​​​ไม่​​​ยาก

Drug used in Diabetes Mellitus


DRUG CLASS

GENERIC (TRADE)

DRUG NAMES*

MECHANISM

OF ACTION

Sulfonylureas

Chlorpropamide (Diabinese)

Glipizide (Glucotrol)

Glyburide (DiaBeta, Micronase)

Glimepiride (Amaryl)

Stimulate insulin

secretion

Meglitinides

Repaglinide (Prandin)

Stimulate insulin

secretion

Biguanides

Metformin (Glucophage)

Decrease

glycogenolysis and

hepatic glucose

production

Alpha-Glucosidase

Inhibitors

Acarbose (Precose)

Miglitol (Glyset)

Decrease gastrointestinal

absorption of

carbohydrates

Thiazolidinediones

Rosiglitazone maleate (Avandia)

Pioglitazone (Actos)

Enhance tissue

sensitivity to

insulin

​​

ที่คุ้นๆ​​​กัน​​​ก็คือ​​ MF ก็คือ​​ Metfomin ให้​​​รู้​​​แล้ว​​​กัน​​​ว่า​​ MF คือตัวย่อของ​​ Metformin เวลา​​​เจอคนไข้​​​เบาหวาน​​​จะ​​​ได้​​​ไม่​​​งงว่ากินยาอะ​​​ไร​​​อยู่​​ ​​ยา​​​ใน​​​กลุ่มนี้​​​เท่า​​​ที่รู้​​​ไม่​​​มีผล​​​กับ​​​การรักษาทางทันตกรรม

กับยา​​​ใน​​​อีกกลุ่มคือ​​ Sulfonylurea ที่คุ้น​​​กัน​​​คือ​​ Gliclazide, Glipizide, Glibenclamide จำ​​​ง่ายๆ​​​พวก​​ Gli ทั้ง​​​หลายนี้​​​เอง​​ ​​ยากลุ่มนี้มี​​​ความ​​​สำ​​​คัญ​​​กับ​​​การรักษาทางทันตกรรมบ้างเหมือน​​​กัน​​ ​​เพราะ​​​ทำ​​​หน้าที่กระตุ้น​​​ให้​​​เกิดการหลั่ง​​ Insulin ออกมามาก​​ ​​ถ้า​​​ผู้​​​ป่วย​​​ได้​​​รับการรักษา​​​ใน​​​ช่องปาก​​​แล้ว​​​ทำ​​​ให้​​​ไม่​​​สามารถ​​​ทานข้าว​​ ​​ทานอาหาร​​​ได้​​​เหมือนเดิม​​ ​​ก็อาจ​​​จะ​​​ทำ​​​ให้​​​เกิดภาวะ​​ Hypoglycemia ได้

ยากลุ่มหนึ่งที่​​​ไม่​​​ได้​​​รักษา​​​โรคเบาหวาน​​​โดย​​​ตรงแต่​​​เป็น​​​การป้อง​​​กัน​​ Complication ที่​​​จะ​​​เกิด​​​กับ​​​โรคเบาหวาน​​ ​​ก็คือ​​ Aspirin โดย​​​แพทย์​​​แต่ละคนก็​​​จะ​​​ให้​​ Dose ต่างๆ​​​กัน​​​ไป​​​แล้ว​​​แต่​​​เรียน​​​หรือ​​​เชื่อ​​​กัน​​​มา​​​ยัง​​​ไง​​ ​​แต่​​​จะ​​​ให้​​​เป็น​​ low dose คือตั้งแต่​​ 75-325 mg (Grain I 65mg, Grain V 325mg) Aspirin มีผล​​​กับ​​​การทำ​​​งานศัลยกรรม​​​ใน​​​ช่องปากคือ​​ ​​ทำ​​​ให้​​​เลือดหยุดยากขึ้น​​ ​​โดย​​​ทันแพทย์​​​จะ​​​ถูกสอน​​​กัน​​​มา​​​ให้​​​หยุด​​ ASA 7 วันก่อนการถอนฟัน​​​ใน​​​ช่องปาก​​ ​​แต่​​​จาก​​​การศึกษา​​​ใน​​​ปัจจุบันทำ​​​ให้​​ ADA บอกว่า​​​ไม่​​​ต้อง​​​หยุด​​ ASA ใน​​​การทำ​​ minor oral surgery เอา​​​เป็น​​​ว่าถอนฟัน​​​ไม่​​​เกิน​​ 3 ซี่​​​แล้ว​​​กัน​​ ​​อย่างไรก็ตามควร​​​จะ​​​ซักประวัติ​​ ​​ตรวจร่างกายด้าน​​​อื่นๆ​​​ของ​​​ผู้​​​ป่วยประกอบ​​​ด้วย​​ ​​และ​​​ควร​​​จะ​​​มีสารห้ามเลือดพร้อม​​ ​​เช่น​​ Gelfoam หรือ​​ Surgicel

หวังว่าคนอ่านคง​​​ได้​​​ประ​​​โยชน์​​​จาก​​​เกร็ด​​​ความ​​​รู้​​​เรื่องยา​​​ใน​​​การรักษา​​​โรคเบาหวานบ้างครับ​​

หมายเหตุ: ผู้​​​ป่วยเบาหวานมี​​​ความ​​​เสี่ยง​​​จาก​​​การเสียชีวิต​​​ด้วย​​ cardiovascular event, myocardial infarction, stroke เพิ่มขึ้น​​ 2-4 เท่า​​ ​​ทั้ง​​​ผู้​​​ชาย​​​และ​​​ผู้​​​หญิง

Reference

  1. Brennan, Michael T. DDS, MHS a; Wynn, Richard L. PhD b; Miller, Craig S. DMD, MS c. Aspirin and bleeding in dentistry: an update and recommendations; Oral Surgery, Oral Medicine, Oral Pathology, Oral Radiology, & Endodontics. 104(3):316-323, September 2007.
  2. RAJESH V. LALLA, B.D.S., Ph.D.; JOSEPH A. D’AMBROSIO, D.D.S., M.S. Dental management considerations for the patient with diabetes mellitus, JADA, Vol. 132, October 2001
  3. http://www.student.chula.ac.th/~45350858/appirin.html

Relate link

Vasovagal Syncope and dental consideration
Adrenal insufficiency and Dental consideration

No comments:

Post a Comment